กลับมาหาพระเจ้า ( Return to the Lord )
 
 

อ. ชลธิรา จินดาทจักร์
ครูงานศาสนกิจ

พระธรรมลูกา 15 : 11-24 “ คำอุปมาเรื่องบุตรที่หายไป ” ( The parable of the lost son )        ข้อ 12 “ บุตรคนเล็กพูดกับบิดาว่า บิดาเจ้าข้า ขอทรัพย์สมบัติที่เป็นส่วนของข้าเจ้าเถิด ”
       
การแบ่งสมบัติเป็นอำนาจการตัดสินใจของบิดา โดยอาจกระทำก่อนขณะที่ยังมีชีวิตหรือมอบพินัยกรรมไว้ให้ภายหลัง เป็นสิทธิของพ่อ จะเห็นสมควรอย่างไร แต่ที่ประหลาดก็คือลูกคนเล็กคิดกระทำการซึ่งผิดวิสัยคนทั่วไป แสดงถึงความอหังการไม่เคารพบุพการี แม้ขณะบิดายังมีชีวิตอยู่ (ข้ามหัว) โดยหาได้มีความเกรงกลัวไม่

 
 

ข้อ 13-14 “ ต่อมาไม่กี่วันบุตรคนเล็กก็รวบรวมทรัพย์สมบัติทั้งหมด ประมาณ 1 ใน 3 ตามสิทธิของเขาแล้วท่องเที่ยวไปเมืองไกล เขาได้ผลาญทรัพย์สมบัติและใช้ชีวิตอย่าง คนเสเพล ไร้ค่า เปล่าประโยชน์ สุรุ่ยสุร่าย ฟุ่มเฟือย ( wastefully ) ถลุงจนสิ้นเนื้อประดาตัว ”

ข้อ 15-16 เมื่อใช้ทรัพย์สมบัติจนหมดตัวแล้วจึงตกระกำลำบากไปขออาศัยอยู่กับเจ้าของคอกหมูโดยกินอยู่กับหมู

คนยิวถือว่าหมู่เป็นสัตว์ที่ไม่สะอาด (เฉลยธรรมบัญญัติ 14 :8 และ เลวีนิติ 11 : 2-8) การกินเนื้อหมูหรือสัมผัสตัวหมูถือเป็นสิ่งต้องห้าม แต่บุตรน้อยกินอยู่กับหมู เป็นความตกต่ำยิ่งในชีวิตของเขา

เขายังเด็กนัก อยู่ในวัยที่ยังไม่เป็นผู้ใหญ่ แต่การกระทำตามใจปรารถนาตนเอง ขอแบ่งสมบัติจากบิดาถือเป็นการกบฏต่อพ่อแม่ ในที่สุดชีวิตก็ล้มเหลวและตกต่ำ

ข้อ 17 เมื่อเขารู้สำนึกตัวแล้ว จึงคิดได้ว่า ( He came to his senses ) “ ลูกจ้างของบิดาเรามีมาก ยังมีอาหารกินอิ่มและเหลือ ส่วนเราจะมาอดตายเสียที่นี่.... ”

คำอุปมาที่องค์พระเยซูคริสต์เจ้าทรงยกมามีนัยสำคัญต่อชีวิตของเราทุกคน 4 ประการดังนี้ (จากคำกริยา 4 คำในภาษาอังกฤษ)

ประการแรก : Return (กลับคืน หันหลังกลับ)

เมื่อรู้ว่ามาผิดทาง หลงทางแล้วอย่าดันทุรังทำต่อไป ต้องหยุดคิดและกลับลำ ไม่ถลำลึกไปกว่านั้น ตั้งลำใหม่ หรือถอยหลังกลับ หันกลับ หันหลังให้กับสิ่งที่ทำผิดไปแล้ว

พระธรรมลูกา 15 : 18 “ จำเราจะลุกขึ้นไปหาบิดาเรา ”

เวลานี้ชีวิตของบุตรน้อยสูญสิ้นทรัพย์สมบัติทุกสิ่งทุกอย่างอับจนและตกต่ำ ไม่มีเงินใช้เพื่อแสวงหา

ความชั่วใส่ตัว การกระทำที่เหลวแหลกอย่างเคยจึงไม่เกิดขึ้น เขามีเวลาหยุดคิด หันหลังกลับ จากความผิดที่เคยกระทำ ไม่จมปลักอยู่ในสิ่งสกปรก อยู่กับหมู ( swine as unclean animal ) แต่ลุกขึ้นและ กลับไปหาบิดา ( Return ) นี่คือก้าวแรกที่จะนำเขากลับคืนสู่ความรอด ( Salvation )

ประการที่สอง : Repent (สำนึกผิด สารภาพผิด สำนึกบาป)

เมื่อหันหลังกลับจากสิ่งชั่วที่ได้กระทำลงไป บุตรน้อยจึงสำนึกในความผิดที่ตนได้ก่อขึ้น ไม่หยิ่งยโส หรือกลัวเสียหน้า แต่เขาได้สารภาพและเสียใจในความผิดที่ได้กระทำลงไป

พระธรรมลูกา 15 : 18 “ .......พูดกับท่านว่า บิดาเจ้าข้า ข้าพเจ้าได้ทำผิดต่อสวรรค์และผิดต่อท่าน ขอท่าน

ให้ข้าพเจ้าเป็นเหมือนลูกจ้างของท่านคนหนึ่งเถิด ”

เป็นการแสดงว่าเขาสำนึกในความผิดที่ได้ทำ เขาไม่สมควรจะได้รับการเรียกว่า “ ลูก ” อีกต่อไป ( unworthy to be called his father's son ) แต่ยอมรับและสารภาพความผิด ( repent ) นับเป็นก้าวที่สองที่จะนำเขาสู่การยกโทษ ( forgiveness )

ประการที่สาม : Receive (ได้รับการต้อนรับ ได้รับการยอมรับ ได้รับสถานภาพคืน)

พระธรรมลูกา 15 :20 “ แล้วเขาก็ลุกขึ้นไปหาบิดาของตน แต่เมื่อเขายังอยู่แต่ไกล บิดาแลเห็น เขาก็มีความ

เมตตาจึงวิ่งออกไปกอดเขา ”

เมื่อบุตรน้อยหันหลังให้กับความผิดบาป สารภาพและสำนึกในสิ่งที่ได้ทำลงไป เขาจึงได้รับการต้อนรับจากผู้เป็นพ่อ ที่เฝ้าคอยการกลับมาของลูก เมื่อเห็นเขามาแต่ไกลจึงวิ่งออกไปหา โอบกอด หอมแก้มลูกชาย

นับเป็นภาพที่ไม่ธรรมดาในสายตาคนทั่วไปที่ผู้อาวุโสจะวิ่ง โดยเฉพาะวิ่งไปหาคนที่ครั้งหนึ่งเคยทำความอัปยศอดสูมาสู่วงค์ตระกูล แต่เพราะความรักที่มีต่อลูกพ่อจึงยอมทำทุกอย่าง

พระธรรมลูกา 15 : 22 “ บิดาสั่งบ่าวของตนว่า จงรีบไปเอาเสื้ออย่างดีที่สุดมาสวมให้เขา และเอาแหวนมา

สวมนิ้วมือกับเอารองเท้ามาสวมให้เขา ”

เสื้อคลุมอย่างดีที่สุด ( The best robe ) ก็น่าจะหมายถึงเสื้อคลุมของที่พ่อใช้อยู่เป็นประจำ อันแสดงว่าทุกคนควรจะให้เกียรติ ให้ความเคารพเขาเช่นเดียวกับที่กระทำต่อผู้เป็นบิดา เอาแหวนมาสวมให้เพื่อเป็นเครื่องหมายว่าบุตรน้อยคนนี้ได้รับ ( Received the authority ) สิทธิอำนาจที่พ่อมอบให้ในฐานะลูกและเอารองเท้ามาสวมให้ คนที่ไม่สวมรองก็ คือทาส ( Slave ) ดังนั้นเมื่อได้รับการสวมรองเท้าจึงเป็นเครื่องหมายว่าบุตรน้อยคนนี้ได้รับอิสรภาพ เขามีเสรีภาพที่จะทำทุกอย่างตามที่บุตรพึงจะได้รับ

เมื่อเขาได้รับการต้อนรับ และการยอมรับ ( receive ) จากผู้เป็นพ่อจึงนับเป็นก้าวที่สามที่จะนำเขาให้ได้รับสถานภาพบุตรอีกครั้ง

ประการสุดท้าย : Reunite (พบกันอีกหลังจากที่จากกัน ได้กลับมารวมกันอีกครั้งหนึ่ง)

พระธรรมลูกา 15 : 24 “ เพราะว่าลูกของเราคนนี้ตายแล้วแต่กลับมีชีวิตอีก หายไปแล้วแต่ได้พบกันอีก.... ”

นับเป็นความดีใจอย่างที่สุด เมื่อบุตรน้อยที่หลงหายได้กลับมาถึงบ้าน เขาเป็นดังคนที่ตายแล้ว แต่ได้กลับมีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง ทั้งพ่อและลูกชายได้กลับมายังบ้านที่มีความรักความอบอุ่นร่วมกัน บิดายินดีต้อนรับเขา และให้เกียรติเขา ปฏิบัติต่อเขาด้วยความรักในฐานะบุตร

ในข้อ 23 “ จงเอาลูกวัวอ้วนพีมาฆ่าเลี้ยงกันเพื่อความรื่นเริงยินดีเถิด ” เป็นการแสดงให้รู้ว่าคนทั้งหมู่บ้านจะได้รับเชิญให้มารวมตัวกันในงานเลี้ยงนั้น ประกาศให้รับรู้ทั่วกันว่าลูกคนนี้กลับมาบ้านแล้ว

การที่บุตรน้อยได้กลับมาสู่อ้อมกอดของพ่อแม่ ( reunite ) จึงเป็นก้าวย่างที่เขากลับคืนสู่ความรัก และการให้อภัยอีกทั้งได้รับสถานภาพและสิทธิในฐานะของลูก

คำอุปมาขององค์พระเยซูคริสตเจ้าสองเรื่องที่พูดมาก่อน คือ เรื่องแกะหาย ( the parable of the lost sheep ) และเรื่องเงินเหรียญหาย ( The parable of the lost coin ) ที่เจ้าของต้องออกตามหา ทั้งนี้ก็เพราะแกะนั้นไม่มีความฉลาดพอจะหาทางกลับบ้านได้ หรือเงินเหรียญที่หายก็ไม่อาจกลับมาหาเจ้าของได้ แต่บุตรที่หายนั้นผู้เป็นพ่อไม่ได้ออกตามเพื่อให้กลับบ้าน เพราะมนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญามีการตัดสินใจเลือกทางเดินชีวิต ฉะนั้นพ่อจึงนั่งรอคอยการกลับมาของเขาอย่างใจจดใจจ่อ ( watched and waited ) พร้อมเสมอที่จะต้อนรับลูกชายกลับบ้าน

พระเป็นเจ้าทรงรอคอยเราทุกคนกลับ ( return ) สู่อ้อมกอดของพระองค์เสมอ หากเราสนองตอบ ( respond ) ต่อการเสียงเรียกของพระองค์ แต่พระเจ้าจะไม่ทรงบังคับ ( force ) ให้เรากระทำ ดังนั้นเราจึงต้องกลับมาหาพระองค์ ด้วยความเต็มใจ ( Come back to Jesus with all your heart )

C= Confess your sins (สารภาพความผิดบาปของเราเพื่อทูลขอการทรงชำระ)

O= Open your heart (เปิดใจของเราออกเพื่อรับการอภัย)

M= Meet Jesus (เราจะพบกับองค์พระเยซูคริสตเจ้า)

E= Enter into everlasting life (ก้าวเข้าสู่ประตูแห่งชีวิตนิรันดร์)

พระเจ้าทรงสัญญาแก่เราทุกคนว่า

“ .....ผู้ที่มาหาเรา เราจะไม่ทอดทิ้งเขาเลย ” ( Whoever comes to me I will never drive a way ) ” พระธรรมยอห์น 6 : 37