คนใจงาม ( A Beautiful Mind )
 
 
อ. วิศรุต จินดารัตน์
ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายศาสนกิจและดนตรี


มนุษย์ได้รับการสร้างตามพระฉายาของพระเจ้า เขาจึงมีความแตกต่างจากสัตว์ทั้งหลาย สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ คุณลักษณะอุปนิสัยที่เรียกว่า จิตใจ ( characteristic of man called the mind ) ความเป็นคนที่มีจิตใจงดงามนั้น ไม่ได้หมายความถึงว่า เป็นคนที่มีมันสมองเท่านั้น เพราะสัตว์อื่น ๆ ก็มีสมองด้วย แต่มนุษย์คือผู้ที่มีสัมพันธภาพกับพระผู้สร้างของเขา มีวิธีคิด มีการใช้เหตุผล และมีความเข้าใจพระประสงค์ของพระองค์ในขณะที่สัตว์ไม่สามารถทำได้ พระคริสต์ธรรมคัมภีร์เรียกสิ่งนี้ว่าใจหรือจิตใจ Mind, heart
 
 
  พระธรรมสุภาษิต 2 : 2-3 บุตรชายของเราเอ๋ย ถ้าเจ้ารับคำของเราและสะสมคำบัญชาของเรา ไว้ในตัวเจ้า และเอียงหูของเจ้าให้รับเอาปัญญา และ เปิดใจ ของเจ้า เพื่อทำ ความเข้าใจ .... ( Turning your ear to wisdom and applying your heart to understanding )

เมื่อเราให้คุณค่าต่อปัญญา หูและใจของเราก็จะเปิดกว้างรับเอาความเข้าใจ จิตใจ ( mind ) คือ สติปัญญาในการคิดและหาเหตุผล หรือจิตใจของคนอันเป็นผลมาจากการได้รับการศึกษาและการฝึกฝนอบรมเป็นความคิดจิตใจ ความสามารถในการเข้าใจ

Rene Descartes นักปราชญ์ และ นักคณิตศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส เป็นนักคิดแห่งสำนัก “rationalism“ ที่สงสัยในทุก ๆ ความคิดที่สามารถจะสงสัย กล่าวว่า “ I think therefore I am ” ( ฉันคิด ฉันจึงเป็นฉัน ) แต่ Pascal แย้งว่า “ The heart has reasons that reason does not know ” (หัวใจมีเหตุผลที่เหตุผลไม่เคยรู้จักหัวใจเลย)

จริงอยู่แม้ ปัสกาลจะบอกว่า ความยิ่งใหญ่ของคนอยู่ที่ความคิด แต่ความคิดในความหมายของเขาไม่เพียงสิ่งที่อยู่ในสมองเท่านั้น แต่เป็นการบูรณาการเอาความเป็นคนไว้ด้วยกัน เป็นองค์รวมซึ่งปาสกาลให้ความหมายไว้คือ “ หัวใจ ” นั่นเอง

ภาพยนต์เรื่อง A beautiful mind พูดถึงความเป็นอัฉจริยะของศาสตราจารย์ จอห์น แนช ในด้านคณิตศาสตร์ ผู้ที่สามารถแก้สมการคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนได้ แต่กลับแก้สมการชีวิตของตนไม่ได้ เขาเป็นเด็กที่ฉลาดกว่าคนอื่นจึงสามารถสอบชิงทุนเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยปริสตันได้ แต่กลับมีปัญหาในการเข้าสังคม ครูบอกเขาว่า “ เธอมีสมองโตกว่าคนอื่นสองเท่า แต่มีหัวใจแค่ครึ่งเดียว ”

ใจ ( heart, mind ) เป็นสิ่งสำคัญที่สุด อัจฉริยะบางคนไม่สามารถใช้การคิดเพื่อแก้ปัญหาได้ แต่ใช้ใจแก้ได้

พ่อแม่- ครูอาจารย์ อาจไม่ใช่อัจฉริยะ หรือบุคคลสำคัญ แต่ทุกท่านก็มีหัวใจที่ยิ่งใหญ่ เป็นหัวใจที่ทุ่มเทให้ลูกและศิษย์ของตนเป็นคนดี (to be good ) และเป็นคนฉลาดมีไหวพริบ (to be smart ) บรรดาครูอาจารย์ที่ทำงานในวัฒนาวิทยาลัยต่าง ใช้หัวใจ เป็นหลักในการทำงานซึ่งนอกจากการสอนที่ให้ทั้งวิธีคิดและวิชาการแก่บรรดาศิษย์แล้ว ครูวัฒนาวิทยาลัยยังให้หัวใจทั้งหมดแก่ศิษย์ นี่คือความงดงามแห่งความเป็นครูที่เต็มใจมอบให้นักเรียนทุกคน

พระธรรมสุภาษิต 22 : 6 “ จงฝึกเด็กในทางที่เขาควรจะเดินไป และเมื่อเขาเป็นผู้ใหญ่แล้ว เขา จะไม่พรากจากทางนั้น ” (Train a child in the way he should go, and when he is old he will not turn from it)

“ จงฝึกเด็ก ” ( to train a child to choose the right way ) การฝึกฝนย่อมต้องใช้เวลาไม่ได้ทำเพียงครั้งเดียว แต่ใช้ความอดทนทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่ออบรมให้นักเรียนได้เลือกทางเดินที่ถูกต้อง เพราะการฝึกอบรมตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเยาว์นั้นจะก่อให้เกิดอุปนิสัยอันพึงประสงค์ ( early training secures lifelong habits )

“ ในทางที่เขาควรจะเดินไป ” ( the way he should go ) ทางที่ควรจะเดินไปนั้น ย่อมต้องเป็นการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องตามพระประสงค์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า เป็นทางแห่งชีวิต ( God's way, the way of life)

คำว่า “ ให้การศึกษา ” ( to educate ) ซึ่งตรงกับคำว่า “ hanak ”. ในภาษาฮีบรูจึงมีความหมายว่า “ ให้การฝึกอบรม ” ( to train ) เป็นการวางรากฐานแก่บรรดาเยาวชนให้มีการดำเนินชีวิตตามน้ำพระทัยพระเป็นเจ้าเพื่อเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติต่อไป
ผลลัพธ์สุดท้ายของปรัชญาความเชื่อที่ว่าด้วย “ คุณธรรม นำวิชาการ ” ก็คือ การปลูกฝังเลี้ยงดูฟูมฟัก เพื่อให้นักเรียนวัฒนาวิทยาลัยทุกคนถึงซึ่งความเป็นคนโดยสมบูรณ์ ( A person of integrity ) มีจิตใจงดงาม ( beautiful mind ) นั่นเอง

พระธรรมมัทธิว 22 : 37 “ ....จงรักพระเจ้าด้วยสุดใจสุดจิตของเจ้าและด้วยสิ้นสุดความคิดของ เจ้า ” ( Love the Lord your God with all your heart, with all your soul, and with all your mind )